การจะพิจารณาเพื่อซื้อยางรถยนต์สักเส้นหนึ่ง เรียกว่าเป็นหัวข้อของคนรักรถที่ต้องคุยกันยาว ๆ เลย เพราะยางที่ดีมีค่าเท่ากับการขับขี่ที่ดีด้วยเช่นกัน บทความนี้ SaveTyre มีสาระสำคัญที่อยากบอกให้ผู้ขับขี่บนท้องถนนทุกคนได้รู้ นั่นก็คือ ‘ตัวเลขบนยางรถยนต์’ สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ที่บอกกับเราว่าทำไมยางรถยนต์ที่เราจะเลือกถึงดีต่อรถยนต์ของตัวเองมากที่สุดล่ะ
ตัวเลขบนยางรถยนต์ หมายถึงอะไร ?
เมื่อพูดถึงตัวเลขบนยางรถยนต์แล้ว ตัวเลขเหล่านี้เป็นรหัสที่แสดงถึงองค์ประกอบทั้งหมด ที่ประกอบขึ้นเป็นยางรถยนต์สำหรับ 1 ล้อ เช่น ชนิดของยาง / น้ำหนักที่สามารถบรรทุกได้ / ความสูงของแก้มยาง / ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง / อายุการใช้งานของยางรถยนต์ / วันที่ผลิตยางรถยนต์ หน้าที่ของตัวเลขเหล่านี้ก็มีขึ้นเพื่อที่คนใช้รถทุกคนจะได้รู้ว่ายางตัวไหนที่จะสามารถสร้างประสิทธิภาพสูงสุดต่อรถของเราได้นั่นเอง
ค่าตัวเลขบนยางรถยนต์ บอกอะไรได้บ้าง ?
หลังจากที่รู้กันไปแล้วว่าตัวเลขบนยางรถยนต์มีค่าเพื่อแทนองค์ประกอบแบบไหนของยาง เรามาเจาะลึกกันให้มากขึ้นอีกนิด เข้าใจตั้งแต่วิธีอ่านค่าบนยางรถยนต์ พร้อมกับเข้าใจว่ายางรถยนต์บอกอะไรเราได้บ้าง
ตัวอักษร P และ LT : สำหรับตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้งหมดที่อยู่บนแก้มยางนั้น จะแสดงถึงค่าต่าง ๆ ตามนี้ ‘P’ (Passenger Car) เป็นอักษรที่เรามักจะเห็นกันบนยางรถยนต์ทั่วไป ซึ่งตัวอักษรนี้ถูกกำหนดโดย สมาคมยางและกะทะล้อ (The Tyre and Rim Association) ให้มีความหมายถึง ‘ยางที่ถูกออกแบบใช้กับยางรถยนต์นั่ง’ และยังรวมไปถึงยางของรถอเนกประสงค์ รถตู้ขนาดเล็ก / ตัวอักษร LT เป็นสัญลักษณ์ที่บอกว่ายางชนิดนี้ใช้กับ ‘รถปิคอัพ’ แต่ถ้าเป็น LT-metric จะหมายถึงยางที่บรรทุกน้ำหนักได้มหาศาลของรถบรรทุกหนักและรถพ่วง ซึ่งตัว T มาจากคำว่า Temporary หรือคืออะไหล่ชั่วคราว / ส่วนตัวอักษร ST จะหมายถึงยางที่ใช้กับ ‘รถพ่วงพิเศษ’
ความกว้างของยางรถยนต์ (Width) : เลข 3 ตัวเลขมีความหมายถึง ‘ความกว้างของขนาดยาง’ โดยมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ซึ่งความกว้างของยางจะวัดระยะตั้งแต่แก้มยางด้านหนึ่งไปสู่อีกด้าน ไม่รวมความสูงของตัวหนังสือ สัญลักษณ์ และส่วนอื่น ๆ ที่ยื่นออกจากแก้มยาง ข้อสำคัญก็คือ จะวัดได้ในขณะที่ยางอยู่ในสถานะเติมลมยางอยู่ในค่ามาตรฐาน วิธีอ่านก็ง่าย ๆ เช่น ถ้าเป็นเลข P225 = ยางจะมีความกว้างอยู่ที่ 225 มิลลิเมตร
อัตราส่วนขนาดล้อรถ (Aspect Ratio) : ตัวเลขยางหลังเครื่องหมาย ‘/’ 2 ตัวถัดมาแสดงถึง ‘อัตราส่วนระหว่างความสูงกับความกว้างของยาง’ ซึ่งคนขับรู้จักดีในคำติดปากที่เรียกกันว่า ‘ซีรีส์’ ซึ่งจะมีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์เพื่อให้ง่ายต่อการเรียก เช่น ถ้าอัตราส่วนของขนาดยางเท่ากับ 70 ซีรีส์ ก็จะเรียกว่ามีความสูงเป็น 70% ของความกว้าง
โครงสร้างยางรถยนต์ (Construction) : ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวที่ 2 บนแก้มยาง คือส่วนที่มีขึ้นเพื่อบอกประเภทของโครงสร้างภายในของยางรถยนต์ที่มีผลต่อความเสถียรของยางโดยตรง โดยหลัก ๆ แล้วจะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ระบุอยู่ 2 ประเภท R (Radial) = โครงสร้างยางเรเดียลซึ่งโครงสร้างเป็นชั้นผ้าใบเส้นเส้นลวดพันอยู่รอบยางทำมุมทะแยงกับเส้นรอบวงของยาง / D (Diagonal, Bias Ply) = ยางผ้าใบ
เส้นผ่านศูนย์กลางของล้อ (RIM Diameter) : ตัวเลขที่อยู่ต่อจากตัวอักษรภาษาอังกฤษคือรหัสของ ‘เส้นผ่านศูนย์กลางของล้อ’ ซึ่งจะวัดหน่วยเป็นนิ้ว เป็นตัวเลขที่บอกกับผู้ขับขี่ว่าขนาดของกระทะล้อที่สามารถประกอบเข้ากับยางตัวนี้ได้อยู่ที่กี่นิ้ว เช่น เลข 16 = คือยางที่สามารถใส่ได้กับรถยนต์ที่มีกระทะล้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 นิ้ว
ความสามารถในการรับน้ำหนัก (Load Index) : ถัดมาอีกนิดคือเลขจำนวน 2 หลักที่แสดงค่าความสามารถในการรองรับน้ำหนักของยาง ซึ่งเราจะบอกว่าตัวเลขนี้ไม่ได้แสดงน้ำหนักที่รับได้ว่าหนักกี่กิโลกรัม แต่เป็นตัวเลขที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีรับน้ำหนักกับความสามารถในการรับน้ำหนักของยางแต่ละเส้น ในค่ามาตรฐานดัชนีรับน้ำหนักจะเริ่มต้นที่ 60-179 ก็คือมีความสามารถในการรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 250-7,750 กิโลกรัม นั่นเอง
ดัชนีระบุความเร็วยาง (Speed Rating) : ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวสุดท้ายแสดงถึง ‘ค่าดัชนีความเร็วของยาง’ หรือก็คือความสามารถสูงสุดที่ยางแต่ละเส้นรองรับความเร็วได้ โดยที่ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ต่างกันในยางแต่ละเส้น จะแทนค่าการรับความเร็วได้ไม่เท่ากันตามนี้
L ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
M ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
N ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
Q ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
T ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
U ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 200 กิโลเมตรต่อตั่วโมง
H ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
V ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
Z ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 240+ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
W ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
Y ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ซื้อยางรถยนต์เส้นใหม่ทั้งที ต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้
ดูต่อกันเลยสำหรับ ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดหลังจากที่ทุกคนสามารถตัวอักษรและตัวเลขบนยางรถยนต์ได้แล้ว การจะซื้อยางสักเส้นต้องพิจารณาอะไรบ้างเพื่อให้ได้ยางที่ดีที่สุด SaveTyre มีคำตอบ !
เลือกขนาดยางให้เหมาะสม : เราจำเป็นที่จะต้องบอกว่าการเลือกยางเพื่อความสวยงามไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องนักสำหรับประสิทธิภาพการใช้งานได้เต็มที่ เพราะฉะนั้น โปรดเลือดแก้มยางที่เหมาะกับกระทะล้อของตัวเอง เพื่อสร้างการขับขี่ที่ปลอดภัย
เลือกให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์การขับขี่ : สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ต้องพิจารณาก็คือ คุณเป็นคนขับรถในสไตล์ไหน ? ประเมินให้เหมาะสมเพราะสเปกยางรถที่ใช่จะสัมพันกับปัจจัยนี้เป็นหลัก เช่น ถ้าเป็นคนขับออกต่างจังหวัดบ่อยและเจอถนนขรุขระอยู่เสมอ ก็จำเป็นต้องใช้ยางที่มีดอกใหญ่และร่องห่างกันเศษหินเศษโคลนติดเข้าไป แต่ถ้าขับขี่บนถนนเรียบทุกวัน ก็ใช้ยางที่มีดอกละเอียดและร่องแคบที่ช่วยในการสัมผัสพื้นถนนได้ดีกว่า
ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดเมื่อเรารู้เรื่องของตัวเลขบนยางรถยนต์ ก็จะย้อนกับไปเรื่องเดิมที่ SaveTyre พยายามจะบอกทุกคนเสมอมา ‘ความปลอดภัย’ ชนิดของยางที่ใช้ในทุกองค์ประกอบตอบได้กับทุกตัวเลขก็นำมาซึ่งยางที่มีประสิทธิภาพในการเกาะถนน ควบคุมได้ดั่งใจ ไม่ต้องกลัวว่าจะต้องเปลี่ยนอะไหล่กลางทาง และสิ่งนี้เองก็นำมาซึ่งการที่เราไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยนยางบ่อย ๆ หรือซื้อยางที่ราคาแพงเกินกว่าจำเป็นต่อการใช้งานตั้งแต่แรกเองก็ตาม